ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามตำแหง บางกะปิ 083-792-5426

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

กรมชลฯ เร่งพร่องน้ำเตรียมรับฝนจากพายุลูกใหม่ที่ก่อตัวใกล้ฟิลิปปินส์


วันนี้ (23 ก.ย.) นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำปราจีนล้นตลิ่ง ว่า จากปริมาณน้ำรับได้ 650 ลบ.ม.ต่อวินาทีแต่มีน้ำมากถึง 700 ลบ.ม.ต่อวินาทีทำให้ อ.กบินทร์บุรี ถูกน้ำท่วมสูงนั้น จะมีแนวโน้นดีขึ้นและไม่มีฝนมาเพิ่มอีกเพราะตอนนี้ร่องมรสุมขึ้นไปภาคเหนือตอนล่าง ทำให้ฝนภาคกลางและภาคตะวันออกเบาลงในช่วง 2-3 วันนี้ เนื่องจากร่องมรสุมที่ขึ้นไปภาคเหนือ มีกำลังปานกลาง  มีฝนตกไม่รุนแรงแต่เพื่อความไม่ประมาทได้เร่งพร่องน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ระบายอยู่ที่ 1,700  ลบมต่อวินาที เตรียมพื้นที่ไว้รอรับฝนที่จะตกอีกในสัปดาห์หน้า
"ร่องมรสุมพาดผ่านอยู่ภาคเหนือตอนล่างและ อีสานตอนล่าง ทำให้ฝนตกกระจายทั่วไป ขณะนี้พื้นที่ น้ำท่วมที่ จ.ปราจีนบุรี ตอนนี้น้ำขึ้นสูงสุดวันนี้ คาดว่าฝนไม่ตกมาเพิ่มอีก ซึ่ง อ.กบินทร์บุรี ได้รับผลกระทบน้ำท่วมหนัก ซึ่งภายใน 3 วัน นี้จะกลับสู่ภาววะปกติ พื้นที่ลุ่มน้ำปราจีน ถูกน้ำท่วมจากน้ำป่าไหลหลากเป็นประจำ เพราะไม่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขณะนี้กำลังก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพระปรง แล้วเสร็จปี 58 รวมทั้งอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง จ.ปราจีนบุรี จะแล้วเสร็จปีเดียวกัน ทำให้สถานการณ์น้ำดีขึ้น"นายเลิศวิโรจน์ กล่าว
ในส่วนปัญหาน้ำท่วมที่ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดจากฝนที่ตกในพื้นที่และปริมาณน้ำที่เร่งพร่องจากเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งเป็นธรรมชาติของพื้นที่บริเวณอยู่แล้วที่ต้องเกิดน้ำหลากทุกปีเพราะเมื่อระดับน้ำสูงขึ้นจึงได้เปิดประตูระบายน้ำ อ.ผักไห่ เข้าพื้นที่ทุ่งนา การระบายเข้าทุ่งบางส่วนเป็นการลดระดับน้ำแม่น้ำน้อย แม่น้ำสุพรรณบุรีลง การระบายเข้าทุ่งเพื่อลดผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ โดยลดปัญหาน้ำท่วมที่ อ.บางเลน อ.นครชัยศรี อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม โดยเร่งระบายลงแม่น้ำท่าจีน รวมทั้งเพิ่มการระบายน้ำแม่น้ำป่าสัก คลองระพีพัฒน์ ลงแม่น้ำบางปะกง ด้วย
ขณะนี้ได้สั่งการให้ชลประทานในพื้นที่ เร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ทุกแห่งที่ถูกน้ำท่วมเป็นการเร่งระบายเพื่อรอรับน้ำฝนทั้งทุ่งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก สูบออกและเร่งระบายออกทะเลตลอดเวลา โดยกรมอุตุนิยมฯกำลัง ติดตามพายุขณะก่อตัวใกล้ประเทศฟิลิปินส์  ทั้งนี้ยืนยันว่าปริมาณน้ำเหนือไม่มีผลกระทบทำให้เกิดน้ำท่วม กรุงเทพและปริมณฑล เพราะแม่น้ำเจ้าพระยา ยังมีขีดความสามารถระบายได้อีกมากหากสื่อเสนอข่าวน้ำท่วมแบบตรงไปตรงมาสักหนึ่งสัปดาห์เหตุการณ์ทุกอย่างจะไม่น่ากลัวอย่างที่คิด และขณะนี้กรมชลประทาน ได้เตรียมมาตรการป้องกันน้ำฝน โดยเตรียมพื้นที่รองรับน้ำฝนไว้พร้อมและเร่งระบายออกโดยเร็วที่สุด
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ว่า ปริมาณน้ำไหลผ่าน อ.เมืองนครสวรรค์ 1,762 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 3.03  เมตร ส่วนที่เขื่อนเจ้าพระยา  มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,725 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาต่ำกว่าตลิ่ง 2.54 เมตร ในขณะที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ 1,596 ลบ.ม.ต่อวินาที รับน้ำได้สูงสุด 3,500  ลบ.ม.ต่อวินาที และจุดนี้ยังเป็นจุดวัดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะไหลผ่านเข้าสู่กรุงเทพฯและปริมณฑลด้วย ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 1.31 เมตร
ทั้งนี้ ตั้งแต่ในช่วงกลางเดือนก.ย.เป็นต้นมา เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคกลางเป็นบริเวณกว้าง ทำให้มีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีน เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำท่าจีนบริเวณ อ.บางเลน และอ.นครชัยศรี จ.นครปฐม แนวโน้มระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีนยังคงสูงขึ้น ประกอบกับที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ในช่วงวันที่ 24 – 25 ก.ย. 55 มีแนวโน้มว่าจะเกิดฝนตกชุกหนาแน่นในพื้นที่ภาคกลางไปจนถึงวันที่ 29 ก.ย.
จากสถานการณ์ดังกล่าวได้ปรับแผนการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ด้วยการลดระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาลง เพื่อรองรับน้ำฝนที่จะตกลงมาในพื้นที่ตอนบนบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาสูงขึ้นเล็กน้อย แต่จะไม่กระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยามากนัก ส่วนแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย และคลองชัยนาท-ป่าสัก จะลดการรับน้ำเข้าไป เนื่องจากในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำดังกล่าวได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม อีกทั้งหากเกิดฝนตกหนักตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ไว้ พื้นที่ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกจะสามารถรองรับน้ำได้
                     
นอกจากนี้ กรมชลประทาน จะลดการรับน้ำจากแม่น้ำป่าสักเข้าสู่คลองระพีพัฒน์ ให้อยู่ในเกณฑ์ 15 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อเตรียมพื้นที่บริเวณทุ่งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างไว้รองรับน้ำฝนที่จะตกลงมาในพื้นที่ ทั้งนี้ แม่น้ำป่าสักมีศักยภาพในการรับน้ำได้สูงสุด 500 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มน้ำริมตลิ่ง ในขณะที่เขื่อนพระรามหก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 347 ลบ.ม.ต่อวินาที ประกอบกับมีการลดปริมาณน้ำเข้าสู่คลองชัยนาท – ป่าสัก ทำให้แนวโน้มสถานการณ์น้ำในแม่น้ำป่าสักมีระดับน้ำลดลง อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์น้ำในแม่น้ำป่าสักมีแนวโน้มสูงขึ้น จนส่งผลกระทบกับพื้นที่ชุมชนลุ่มต่ำริมตลิ่ง กรมชลประทนจะได้ลดการพร่องน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนริมน้ำต่อไป.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design Downloaded from Free Blogger Templates Download | free website templates downloads | Vector Graphics | Web Design Resources Download.