ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามตำแหง บางกะปิ 083-792-5426

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วัดใจ 'ปู' ปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติ หลังพิษดอกเบี้ย...รุมขย่มเก้าอี้

เก้าอี้ผู้ว่าการแบงก์ชาติหรือธนาคารแห่งประเทศไทย... เริ่มสั่นคลอนอีกระลอก หลังจากที่ ’ดร.โกร่ง วีรพงษ์ รามางกูร“ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ออกมาระบายความในใจผ่านสื่อจนกลายเป็นข่าวใหญ่โต เก้าอี้ผู้ว่าการแบงก์ชาติหรือธนาคารแห่งประเทศไทย... เริ่มสั่นคลอนอีกระลอก หลังจากที่ ’ดร.โกร่ง วีรพงษ์ รามางกูร“ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ออกมาระบายความในใจผ่านสื่อทุกประเภทเมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา จนกลายเป็นข่าวใหญ่โต และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคมไทยไม่แพ้กระแสการเมืองที่กำลังร้อนแรง แม้ว่าการระบายความในใจครั้งนี้ของ “ดร.โกร่ง” จะไม่ใช่ครั้งแรก แต่ถือว่ารุนแรง ชนิดที่ว่าทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยต้องตกฮวบไปทันทีถึง 8 จุดหรือลดลง 0.54% เพราะตลาดคาดการณ์กันว่า การเปิดใจของ ดร.โกร่ง จะทำให้เก้าอี้ผู้ว่าการแบงก์ชาติ สะเทือน! เหตุผลสำคัญ…ก็เพราะเห็นว่าเวลานี้ความคิดเห็นของ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” รองนายกฯและรมว.คลัง กับ “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ในการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่านั้นกำลังมีความเห็นที่ขัดแย้งกัน ต่างฝ่ายต่างโยนความเห็นโยนความรับผิดชอบกันไปมา สุดท้ายทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศ ที่สำคัญยังมีการชี้ให้เห็นด้วยว่า หากแบงก์ชาติยังต่อสู้กับเงินร้อนที่ไหลเข้ามาในเวลานี้ไม่พ้นสิ้นปี แบงก์ชาติต้องขาดทุนมากกว่า 1 ล้านล้านบาทแน่นอน เพราะแค่เพียงเวลานี้ ได้ขาดทุนเพิ่มไปแล้วเกือบ 8 แสนล้านบาท จากที่เมื่อสิ้นปี 2555 ที่ประสบปัญหาขาดทุนไปแล้วกว่า 5.3 แสนล้านบาท หากผู้ว่าการแบงก์ชาติ ไม่ยอมตัดสินใจลดดอกเบี้ยเพื่อหยุดยั้ง “เงินร้อน” ที่ไหลเข้ามากินส่วนต่างของดอกเบี้ยของไทย รับรองได้อนาคตต้องซ้ำรอย “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2540 แน่นอน เนื่องจากเวลานี้แบงก์ชาติได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงกว่าดอกเบี้ยนอกประเทศ โดยดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 2.75% เมื่อมีเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรมาก ค่าเงินบาทก็แข็งค่า เมื่อเงินบาทแข็งค่า แบงก์ชาติก็ตกใจ ต้องรีบนำเงินบาทออกมาซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อแทรกแซงค่าเงิน ล่าสุดแบงก์ชาติได้รายงานฐานะเงินทุนสำรองประเทศ ณ วันที่ 26 เม.ย. 2556 อยู่ที่ระดับ 1.778 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5.213 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 29,600 ล้านบาท หากคิดอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันที่ระดับ 29.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ในสัปดาห์ก่อนหน้าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ที่ระดับ 1.768 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5.073 ล้านล้านบาท ส่วนฐานะซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ อยู่ที่ระดับ 2.33 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากสัปดาห์ก่อนหน้าอยู่ที่ 2.35 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ ซึ่งรวมทุนสำรองฯในปัจจุบันและล่วงหน้าสุทธิแล้วอยู่ที่ระดับ 2.011 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การที่แบงก์ชาติเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท ยิ่งทำให้ขาดทุนมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อนำเงินบาทออกมาใส่ระบบมากขึ้น ก็ต้องออกพันธบัตรมาดูดซับสภาพคล่องที่ล้นตลาดกลับไป ปัญหามีอยู่ว่า..พันธบัตรที่ออกมามีอัตราดอกเบี้ยในระดับใกล้เคียงกันกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตราบใดยังไม่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง ธปท.ต้องมีต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายสูง และหยุดการไหลเข้าของเงินทุนที่หลั่งไหลเข้ามาเก็งกำไรไม่ได้ ส่วนเงินดอลลาร์ที่ซื้อเข้าไปเก็บ ถูกเอาไปลงทุนในอัตราผลตอบแทนต่ำ คือ ได้ดอกเบี้ยรับมาเพียง 1% หรือต่ำกว่านั้นคือ 0-0.25% แต่ภาระของดอกเบี้ยจ่ายนั้นกลับมีจำนวนมาก ในเมื่อแบงก์ชาติต้องแบกภาระหนักเช่นนี้ แต่ยังเฉยเมยกับการ “ลดดอกเบี้ย” ตามที่ฝ่ายการเมืองและเอกชน เรียกร้อง ดร.โกร่ง เลยฟันธงให้เห็นชัด ๆ ว่าไม่ทันถึงสิ้นปี 2556 แบงก์ชาติจะขาดทุนนับล้านล้านบาททีเดียวขณะที่ในปี 2540 ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งแบงก์ชาติก็เจ๊งกับการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินกว่า 1.4 ล้านล้านบาท ที่จนถึงป่านนี้ยังใช้หนี้ใช้สินไม่หมด ที่สำคัญนอกจากจะหยิบยกสารพัดเหตุผลมาอรรถาธิบายเพื่อให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยลงแล้ว ยังชี้ให้เห็นถึงคุณสมบัติของคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือกนง. อย่างชัดถ้อยชัดคำ ด้วยว่า กนง.มาจากไหนก็ไม่ทราบ ไม่มีใครที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจมหภาคเลยซักคน แต่กลับมีอำนาจมหาศาล ใครพูดติติงอะไรก็ไม่มีผล หากสถานการณ์เป็นไปอย่างนี้ ก็เห็นว่าจะเกิดความเสียหายใหญ่หลวงกับประเทศชาติและประชาชน ซึ่งตอนนี้ภาคการส่งออกก็เริ่มได้รับผลกระทบกันแล้ว เชื่อได้ว่า...จนถึงเวลานี้ กนง.ทั้ง 7 คน คงเกิดอาการนั่งไม่ติด ไม่ว่าจะเป็นตัวของผู้ว่าการแบงก์ชาติที่เป็นประธานกนง.โดยตำแหน่ง หรือรองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน หรือรองผู้ว่าการ ด้านบริหาร หรือแม้แต่ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นบอร์ด กนง.อีก 4 คนอย่าง “อำพน กิตติอำพน” เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, “ศิริ การเจริญดี” อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการแบงก์ชาติ,“ณรงค์ชัย อัครเศรณี” อดีตรมว.พาณิชย์ หรือ “อัศวิน คงสิริ” อดีตกรรมการธนาคารกรุงไทยและอีกหลายบริษัท นอกจากนี้ยังได้บอกผ่านไปถึงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เข้ามาเป็นตัวกลางเพราะเป็นผู้มีอำนาจว่าจะตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างไร โดยเฉพาะ “เก้าอี้” ของผู้ว่าการแบงก์ชาติ ซึ่งถือว่าเป็นการชี้ช่องหรือโยนให้นายกฯ เป็นผู้ตัดสินโดยใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ตามกฎหมายของแบงก์ชาติ ความเห็นที่ไม่ลงรอยกันระหว่าง “ขุนคลัง” กับ ผู้ว่าการแบงก์ชาติ จนนำไปสู่กระแสข่าวหรือการปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หรือเกิดขึ้นเป็นคู่แรก เพราะทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมามีลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นมาตลอดทุกรัฐบาลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ครั้งล่าสุดก็เคยเกิดขึ้นในสมัยของอดีตรัฐบาล “ทักษิณ 1” ที่เคยปลด หม่อมเต่า-ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล มาแล้วด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ยอมลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะแต่ละคนแต่ละฝ่ายต่างมีหลักการทำงานที่ต่างกัน แม้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ “พัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน” ก็ตาม โดยที่รัฐบาลต้องการจะพัฒนาให้ประเทศเติบโตในทุกด้าน ขณะที่แบงก์ชาติก็ต้องกำกับดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศให้เอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจแบบยั่งยืน หากย้อนหลังกลับไปดูความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติ ก็เริ่มต้นมาตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศและมีแนวคิดจะนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปตั้งกองทุนหาผลกำไร แต่ก็ถูกขวางไว้โดยผู้ว่าการแบงก์ชาติ จนสุดท้ายต้องส่ง ดร.โกร่ง เข้าไปเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หรือจะเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องการโยกหนี้เงินต้นกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.1 ล้านล้านบาทไปไว้กับแบงก์ชาติ เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะและลดงบประมาณชำระหนี้ แต่ก็ถูกค้านสุดตัว ซึ่งทำให้รัฐบาลไม่พอใจมาก หรือแม้แต่การที่แบงก์ชาติออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายประชานิยมอย่างออกนอกหน้าในหลาย ๆ ครั้ง อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดแล้วนายกฯ ยิ่งลักษณ์ และ ครม.จะกล้าฟันธงปลด “ประสาร” ออกจากตำแหน่งตามที่ใครหลายคนต้องการหรือไม่! คงไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้โดยง่ายเหมือนที่ผ่านมาอีกที่จะใช้เหตุผล “เพื่อความเหมาะสม” เพราะตามตัวบทกฎหมายของแบงก์ชาติในปัจจุบันได้มีข้อกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า การปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติออกจากตำแหน่งนั้นต้องมีเหตุผลที่ชี้ชัดว่า มีการกระทำผิดสร้างความเสียหายหรือทุจริตจนเกิดความเสียหายกับแบงก์ชาติอย่างชัดแจ้งเท่านั้น บนความขัดแย้งในเรื่องของการดำเนินนโยบายในครั้งนี้ คงกลายเป็นมหากาพย์เรื่องยาว…ที่ทุกคนต้องจับตาดูกันต่อไปว่าสุดท้ายแล้ว รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะตัดสินใจอย่างไร? และใครกันแน่…ที่จะเป็นผู้สั่งให้ปลดหรือไม่ปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติคนนี้!!. ขาดความเป็นอิสระแน่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน บอกว่า การตั้งเป้าหมายจะปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติออกจากตำแหน่ง จะไม่เป็นผลดี เพราะจะทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความเป็นอิสระของธนาคารกลาง ทั้งนี้ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง เงินไหลเข้า และการลดดอกเบี้ยนโยบาย มีประเด็นที่ต้องพูดคุยกันภายใน และผู้ว่าการแบงก์ชาติก็เป็นเพียงหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เท่านั้น ต้องยอมรับว่าเป็นธรรมดาของฝ่ายการเมืองที่ไม่คำนึงถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและวินัยทางการเงินการคลัง จึงต้องการได้ผู้ว่าการ ธปท.ที่ยอมปล่อยเรื่องการใช้จ่ายเงิน แต่ถ้าธนาคารกลางมีผู้บริหารที่ยอมให้การเมืองแทรกแซงได้ ก็จะไม่เป็นผลดี เพราะกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ แนะอย่ามองแค่ดอกเบี้ย “สมภพ มานะรังสรรค์” อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ มองว่า เวลานี้หลายฝ่ายต่างออกมาแนะนำให้ปรับลดดอกเบี้ยเพราะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่เมื่อลดไปแล้ว อยากให้ดูด้วยว่าเมื่อถึงเวลานั้นจะมีคนที่เข้ามาฝากเงินในสถาบันการเงินหรือไม่...สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่หลายคนไม่ได้นึกถึง รวมถึงเงินออมที่อยู่ในสถาบันการเงินก็ถือเป็นเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล หากไม่มีเงินคงทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจแน่นอน ซึ่งทุกฝ่ายต้องคิดให้รอบคอบว่าเมื่อลดดอกเบี้ยไปแล้วจะส่งผลกระทบอย่างไร แค่ไหน ช่วยคนได้กี่กลุ่ม และประเทศยังพึ่งพาการส่งออกอีกต่อไปอีกหรือเปล่า ซึ่งถ้าใช้แนวทางการลดดอกเบี้ยลงเพื่อแก้ปัญหาให้ได้คงต้องลดลงถึง 1-1.5% ให้ใกล้เคียงกับประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สำคัญ ทั้งหมดต้องคิดคำนึงให้รอบคอบเพื่อให้ประเทศชาติได้ประโยชน์มากที่สุด ชี้ใช้มาตรการอื่นแทน “ไพบูลย์ นลินทรางกูร” ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย บอกว่า มาตรการดอกเบี้ยในเวลานี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ สามารถเก็บก่อนได้ เพราะมีวิธีอื่นที่เชื่อว่าแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากกว่า โดยเฉพาะการห้ามไม่ให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุไม่ถึง 6 เดือน ซึ่งเอกชนไม่เห็นด้วยหากรัฐบาลจะออกมาตรการใด ๆ ที่ออกมาแล้วส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ ตลาดหุ้น และการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว เพราะไทยยังต้องการเงินระยะยาวเพื่อนำมาลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งนี้ยังมองว่าสถานการณ์การไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศยังมีอยู่ต่อเนื่องอีกหลายปี และไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์เช่นนี้ได้ เพราะหลายประเทศตะวันตกได้พยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของตัวเองด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ ยุโรป หรือญี่ปุ่น ก็ต่างเพิ่มปริมาณเงินในระบบทั้งนั้น ทีมเศรษฐกิจ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design Downloaded from Free Blogger Templates Download | free website templates downloads | Vector Graphics | Web Design Resources Download.