ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามตำแหง บางกะปิ 083-792-5426

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

นักวิชาการ ชี้กรุงเทพ เสี่ยงน้ำท่วมคาดพายุเข้า ต.ค. พ.ย. จับตามรสุมทะเลจีนใต้ก่อตัวเป็นพายุท่วมเหมือนปี 38


วันนี้ (27 ก.ย.) ที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จัดเสวนา"กรุงเทพฯ2555 ท่วม/ไม่ท่วม(นักข่าว)เอาอยู่ไหม" โดยนายเสรี ศุภราทิตย์  ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต นายธนวัฒน์ จารุพงศ์สกุล หน่วยศึกษาภัยพิบัติและข้อสนเทศเชิงพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)ร่วมสนทนา
นายธนวัฒน์ กล่าวว่าเหตุการณ์ถ้าจะท่วมปีนี้มาจากฟ้า รูปแบบการท่วมต่างจากปีที่แล้ว แต่การป้องกันภาครัฐมองเหมือนเดิมคือป้องกันน้ำล้นฝั่งล้นตลิ่งจึงทำให้การทำงานไม่เข้าเป้า พี้กของปีนี้เหตุการณ์ต้องลุ้นเดือนตุลาคม ฝนตกสุโขทัย มาถึงกรุงเทพฯ จะมาเจอน้ำทะเลหนุน ในช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่กรุงเทพ มีความเสี่ยงโดนน้ำท่วมมากที่สุดในอดีตที่ผ่านมาร่องมรสุมเดือนกันยายน แช่อยู่ทั้งเดือนน่าแปลกมาก ไม่เคยเจอร่องต่อเนื่องเป็นเดือนและท่วมจากเหนือตอนล่างถึงภาคตะวันออก หากมีพายุเฉียดเข้ามาภาคกลาง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนกระเสียว เขื่อนขุนด่าน รับไม่อยู่ ปีนี้อาจจะเจอเหตุการณ์เหมือนปี 49 ที่พระนครศรีอยุธยา ท่วมหนักจากปล่อยน้ำเขื่อนป่าสักฯน่าสังเกตว่าสภาพอากาศแบบนี้ เดือนต.ค. และพ.ย.จะเกิดพายุก่อตัวได้จากอุณหภูมิน้ำทะเล 26 องศา รวมทั้งมีลมพัดสอบ และความชื้นไอน้ำในอากาศสูงมาก ลักษณะแบบนี้เคยเกิดเกิดพายุเกย์ เข้าจ.ชุมพรมาแล้ว กังวลว่าปีนี้จะเกิดอีก เข้าใจว่าศักยภาพของประเทศไทยในการพยากรณ์สภาพอากาศต่ำมากมีเครื่องมือพยากรณ์อากาศมีอย่างหยาบๆใช้วางแผนเพาะปลูกเป็นหลักและในอดีตพิบัติภัยกับประเทศไทยเกิดขนาดเล็ก แต่ในอุทกภัยปี 54 กลายเป็นอันดับ 1 ของโลกเรื่องภัยน้ำท่วมเกิดความเสียหาย กลไกของรัฐไม่มีรูปแบบในการตั้งรับภัยพิบัติขนาดใหญ่ ต้องมาคิดกันใหม่ว่าประชาชนจะเตรียมรับมืออย่างไรเพราะ ประเทศไทยไม่ปลอดภัยอีกแล้ว
นายธนวัฒน์ กล่าวถึงความเสี่ยงน้ำท่วมกรุงเทพฯว่าต้องตามดูร่องมรสุม หากร่องหมดเมื่อไหร่โอกาสเกิดพายุสูงมากในช่วงสองเดือนหน้า ต้องดูสิถิติเก่า ปี 2533 มีพายุ 3 ตัว ปี38 ลักษณะเดียวกันเจอ2 ลูกเดือนตุลาคมทั้งนั้น จุดก่อพายุในทะจีนใต้ทั้งนั้น อุณภูมิน้ำทะเลเหมาะสม ความชื้นมาก เป็นปีแบบนี้เรากลัวมาก ซึ่งปี 2549 เกิดพายุ 2 ลูก เกิดกรณีแบบนี้เราตามร่องพาดอยูู่ คาดว่าร่องหมดวันที่ 30 กันายนถึง 1 ตุลาคม
นายศศิน กล่าวว่าวัฒนธรรมข่าวมันท่วมมากกว่าน้ำท่วมปีนี้ นักข่าวต้องลงแช่น้ำครึ่งตัวเพื่อรายงานข่าว ทั้งที่ปีนี้มีระดับฝนปกติ มันควรจะเป็นปีที่เกิดน้ำท่วมปกติ คือว่าน้ำจะมาทางเหนือมีฝนตกมา พื้นที่ราบน้ำท่วมถึงดินทุกเม็ดเกิดจากตะกอนน้ำพามา หากไม่มีที่กั้นน้ำเข้าไปท่วมพื้นที่เกษตรเพื่อไว้ทำนาได้ปุ๋ยสะสมที่ดีด้วย แต่ปีนี้ไปทำข่าวติดภาพน้ำท่วมจากปี 54 ทำให้คนตื่นตระหนก ความรู้ระหว่างผู้คนกับประสบการณ์ธรรมชาติเปลี่ยนไป เพราะเสพข่าว คนช็อกกับข่าวไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ประชาชนมีความรู้พื้นที่ฐานต่ำไป อีกอันการเมือง แทรก จะมีกี่คนจะรู้หรือไม่ว่ายังมี กยน.หรือ กบอ.สบอช.คืออะไร โฆษก กบอ.เป็นใคร สื่อไปตามนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทย์ ใจร้อนโผงผาง ด้านมรว.สุขุมพันธุ์ พูดช้าและพูดไม่ชัด  ทำให้ประชาชนสับสนไปกันใหญ่ และนักการเมืองไทยคิดอะไรไม่เป็นพอน้ำ ท่วมสุโขทัย ก็รีบบอกต้องสร้างแก่งเสือเต้น ทั้งที่ตรงจะสร้างเขื่อนไม่มีน้ำเลย  ไกลจากที่ท่วมมาก
นายเสรี กล่าวความจริง กยน.มีอยู่แต่ถูกแขวน ถ้าไม่เหตุการณ์รุนแรงหนักก็ไม่มาคุยกัน ความจริงถ้ารัฐมีหน่วยงานที่ชัดเจน ตกลงใครเป็นผู้รายงาน ใครเป็นผู้สื่อสารความเสี่ยงไปให้ประชาชน ความผิดพลาดปีที่แล้ว ภัยพิบัติสำคัญที่สุดประชาชนต้องช่วยตัวเองก่อน และก่อนจะช่วยตัวเองต้องได้รับข้อมูลข่าวสารถูกต้องก่อน แต่งบประมาณรัฐไปหนักในการใช้หลังภัยพิบัติปีละ 2-3 หมื่นล้าน รู้สึกตัวว่าการสื่อสารความเสี่ยงไม่เกิดต่อประชาชน น้ำมาถึงเมื่อไหร่ ประชาชนจะอยู่อย่างไร ประเด็นเหล่านี้ต้องรู้บทเรียนที่ผ่านมาด้วย เพราะนักการเมืองไม่เข้าใจเป็นประเด็นจึงพูดผิดทำให้คนเข้าใจผิด ออกมาพูดโอกาศน้ำท่วมกรุงเทพ 1 เปอร์เซนต์ ทั้งที่น้ำท่วมมันเกิดทุกปีเป็นปกติ ต้องยอมรับความจริงภัยพิบัติเป็นเรื่องไม่แน่นอน จะให้ฟันธงท่วมไม่ท่วม ไม่มีทางจะไปเชื่อได้พยากรณ์ผิดพลาดหมดแม้แต่ให้แม่นยำคือพยากรณ์ล่วงหน้าได้ 1-3 วัน สำหรับกรุงเทพฯถ้าเราดูข้อมูลในอดีต ประกอบกับข้อมูลวิทยาศาตร์ แน่นอนไม่เป็นแบบปีที่แล้ว เพราะปริมาณน้ำเหนือน้อยมากแทบจะไม่มีน้ำแล้ว สุดท้ายอาจจะท่วมน้ำฝน มีย่อมจากทะเลจีนใต้ อาจพัฒนาเป็นพายุได้ แต่การจะทำนายว่าจะท่วมหรือไม่ท่วม ไม่มีใครบอกได้ เพราะปี 2526 เคยโดนพายุทำให้กรุงเทพฯท่วมถึงสนามกีฬาแห่งชาติท่วมสูง 1.50 เมตรเคยเกิดขึ้นแล้ว กรุงเทพฯเฝ้าระวังติดตามใกล้ชิด เรื่องของพายุเกิดขึ้น ขณะนี้มีย่อมในทะเลจีนใต้ ก่อตัวเป็นโซนร้อน มีโอกาสเข้าภาคเหนือ มีความเสี่ยง เข้ามา ฝนอาจตก 300 มิลลิเมตร กทม.ต้องออกมาบอกล่วงหน้าสื่อให้ประชาชนทราบ ไม่ใช้บอกแต่ว่าอุโมงค์รับได้หรือไม่ได้ คนไม่สนใจมันเป็นอุโมงค์ยักษ์มันเป็นการเมืองไปแล้ว
น.ส.สุภิญญา กล่าวว่ากสทช.ได้ออกกฏระเบียบให้ทุกสถานีโทรทัศน์ วิทยุ มีช่องทางเตือนภัยต่อประชาชน รวมทั้งหารือเรื่องจรรยาบรรณในการายงายข่าวภัยพิบัติ ทำไมบางช่องดราม่าเยอะคงไม่ผิดกฎหมายแต่ต้องขอความร่วมมือไม่ควรสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนโดยเฉพาะพิบัติภัยทางธรรมชาติ ใช้วิธีการพูดคุยกันและกำลังเดินสายคุยกับทุกช่อง ออกประกาศกฎเกฑณ์ของ กสทช.ขอร่วมมือผู้ประกอบการทุกราย สื่อหลัก สื่อดาวเทียม ต้องให้เกิดความชัดเจนให้สื่อปฏิบัติได้จริง กำหนดคำว่าภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการตื่นตระหนกตกใจ. 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design Downloaded from Free Blogger Templates Download | free website templates downloads | Vector Graphics | Web Design Resources Download.