ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามตำแหง บางกะปิ 083-792-5426

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

ปตท.ตั้งโรงงานพลาสติกชีวภาพ หวังขึ้นแท่นผู้ผลิตใหญ่ที่สุดในโลก


เคยได้ชมภาพยนตร์หลายเรื่องที่เล่าเรื่องราวถึงโลกอนาคต ซึ่งเต็มไปด้วยซากสิ่งปรักหักพัง และกองขยะนานาชนิดหลายเรื่องราว พร้อมทั้งจินตนาการไปเองว่า หากเรามีชีวิตอยู่จนถึงสถานการณ์เช่นนั้นจริง ๆ แล้ว จะต้องเผชิญกับมลพิษมากน้อยเพียงใดหนอ และเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าเริ่มต้นลดปริมาณขยะเสียตั้งแต่วันนี้ อนาคตอันโหดร้ายนั้นมันจะยืดเวลาออกไปอีกนานพอให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้มาคิดสานต่อหาวิธีการอยู่กับโลกปัจจุบันอย่างมีความสุข เหมือนรุ่นปู่ย่าตายายของเราได้ไหมหนอ?
แต่ในที่สุด ก็มีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่ทำให้รู้ว่า ทุกสิ่งเป็นจริงได้ เมื่อได้ร่วมเป็นหนึ่งในคณะสื่อมวลชน ไปศึกษาลู่ทางการร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ในตัวเองตามธรรมชาติ!! ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับบริษัท มิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่น หรือ เอ็มซีซี ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ มิตซูบิชิ เคมิคอล โฮลดิ้งคอร์ปอเรชั่น ที่เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น
ต้องยอมรับกันว่า ตลอดช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมานี้ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมรุดหน้าเจริญแทบขีดสุด แต่ทุกประเทศทั่วโลกกลับหันมาตื่นตัวกับกระแสการอนุรักษนิยม รักษ์โลกสีเขียว การรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพเดิมให้มากที่สุด การกลับคืนสู่สามัญ นั่นคงเพราะหลายฝ่ายเริ่มตระหนักถึงภัยพิบัติจากธรรมชาติที่เริ่มแผลงฤทธิ์รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ นับเป็นการส่งสัญญาณจากโลกให้มนุษย์รู้ถึงผลลัพธ์ท้ายสุด หากยังคงไม่หยุดทำลายธรรมชาติ
แนวคิดของ ปตท. ในการทำธุรกิจพลาสติกชีวภาพนี้ คือ การผลิตสินค้าที่ยังจำเป็นต้องใช้ในชีวิตปัจจุบัน แต่ต้องให้บรรจุภัณฑ์เหล่านั้นย่อยสลายได้ด้วยตัวเอง เหมือนใบตองห่อข้าว เมื่อกินข้าวเสร็จ ก็ทิ้งใบตองลงพื้นดินได้ มันจะย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์สาร เป็นปุ๋ยให้ประโยชน์กับพื้นดิน กับต้นไม้ต่อไปในเวลาไม่นานนัก
แต่เมื่อมนุษย์เราเปลี่ยนภาชนะจากใบตอง มาเป็นกล่องพลาสติก แก้วพลาสติก จาน ช้อน ส้อม หรือกระทั่งถุงใส่ของพลาสติก ที่ก่อนหน้านี้ เมื่อทิ้งลงสู่พื้นดินแล้ว จะไม่มีทางย่อยสลายได้แม้จะใช้เวลาทับถมนานกว่า 200 ปีก็ตาม ท่ามกลางการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้น โดยไม่สามารถย่อยสลายได้ หากเผาทิ้งก็เกิดเป็นมลพิษในอากาศ จนกระทั่งเกิดภาวะเรือนกระจก ภาวะโลกร้อน อากาศแปรปรวนอย่างทุกวันนี้ และที่ผ่านมาก็ทำได้เพียงวิธีเดียวคือ การขุดหลุมฝัง แม้จะเป็นวิธีการกำจัดขยะที่ดี แต่ก็ให้ความน่าสะพรึงกลัว ที่ใช้ขยะทับถมสร้างเป็นเกาะ เป็นแผ่นดินขนาดใหญ่ได้มากมายจริง ๆ แล้วจะปลูกต้นไม้ ดอกไม้ได้ไหมหนอ
หากเราหันมาใช้พลาสติกชีวภาพ เมื่อทิ้งลงถังขยะ บรรจุภัณฑ์เหล่านั้นก็จะปะปนหมักหมมกับขยะนานาชนิด จนเกิดเป็นจุลินทรีย์เติบโตขึ้น และจุลินทรีย์นี่เอง ที่จะกัดกินบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ แล้วถ่ายออกมาเป็นปุ๋ย ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้คุณประโยชน์ต่อแผ่นดิน เหมือนใบตองได้แล้วเช่นกัน!!
ย้อนหลังไปต้นปี 54 ปตท.และเอ็มซีซี ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไอโอเคมฯ สัดส่วนฝ่ายละ 50% สร้างโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือพีบีเอส ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มาบตาพุด จังหวัดระยอง มีกำลังการผลิตปีละ 20,000 ตัน ด้วยเงินลงทุน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3,000 ล้านบาท และใช้เทคโนโลยีของเอ็มซีซี จนล่าสุดนี้ กำลังเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างโรงงาน พร้อมทั้งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโรงงานได้ในเดือน พ.ย.นี้ ก่อนที่จะเปิดดำเนินกิจการในเชิงพาณิชย์ไตรมาสแรกปี 58 พร้อมกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เบื้องต้นประเมินว่า จะมีรายได้ปีละ 3,000 ล้านบาท จากยอดขายราคาตันละ 4,000-5,000 ดอลลาร์สหรัฐ
โรงงานแห่งนี้จะกลายเป็นโรงงานไอโอพลาสติกแห่งแรกของไทย ที่ผลิตพลาสติกประเภทพีบีเอสที่ใช้วัตถุดิบจากพืช เช่น อ้อย มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น และที่เหมือนถูกโชคสองชั้นนั่นคือ สามารถรับซื้อสินค้าทางการเกษตรของไทยได้มากขึ้น ช่วยประคองราคาให้สูงขึ้นได้ โดยไม่ต้องรอเข้าร่วมโครงการรับจำนำจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว อีกทั้งจะส่งผลให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตพลาสติกชีวภาพของเอเชียด้วย จากปัจจุบันที่ผู้ผลิตพีบีเอสกระจายตัวอยู่ในจีนและญี่ปุ่นเท่านั้น
“สุกฤตย์ สุรบถโสภณ” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ปตท. ระบุว่า ปัจจุบันมีเพียงประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา เท่านั้นที่ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ค่อนข้างสูง ซึ่ง 80% ปตท.ก็จะผลิตเพื่อส่งออกไปต่างประเทศเป็นหลักก่อน เพราะยอมรับว่าพลาสติกชีวภาพยังเป็นเรื่องใหม่ สังคมไทยคงต้องใช้เวลาเรียนรู้ พร้อมกับการรณรงค์ควบคู่กันไป จึงต้องรอให้ถึงจุดหนึ่ง ที่คนหันมาใส่ใจธรรมชาติมากขึ้นก่อน
อย่างไรก็ดีเบื้องต้นโรงงานแห่งนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าราคาอ้อยให้ในประเทศได้มากกว่า 10 เท่า จากปัจจุบันที่ราคากิโลกรัมละ 10-20 บาท ให้เพิ่มเป็น 100 บาทได้ ลดปัญหาความผันผวนด้านราคาได้ชะงัด อีกทั้งไทยเองก็เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ระดับ 7 ล้านตัน ดังนั้นจึงมั่นใจว่าเมื่อต้องเดินเครื่องจักรโรงงานแล้ว จะไม่มีปัญหาการแย่งชิงอ้อย หรือน้ำตาลที่ใช้บริโภคในประเทศแน่นอน
นอกจากนั้น การที่พลาสติกพีบีเอสมีคุณสมบัติเด่นคล้ายคลึงกับพลาสติกพีอี หรือพลาสติกขาวใส (ขวดน้ำพลาสติกพีอี) แต่เด่นกว่าตรงที่ย่อยสลายได้ จึงมองว่าความต้องการใช้ปีละ 20,000 ตันจะเพิ่มเป็น 268,000 ตันในอีก 10 ปีข้างหน้า โดย ปตท.เตรียมที่สร้างโรงงานเพื่อผลิตพลาสติกย่อยสลายได้อีกชนิดคือ โพลิแลกติกแอซิด (พีแอลเอ) ที่แข็งแรงและใส โดยหลังจากที่ได้ไปถือหุ้นในบริษัทเนเจอร์เวิร์ค จำกัด สหรัฐอเมริกา ผ่านบริษัท พีทีทีโกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) มีขนาดกำลังผลิตปีละ 140,000 ตัน แต่ปัจจุบันเดินการผลิตเพียง 90,000 ตัน และจะผลิตได้เต็มที่เร็ว ๆ นี้ หลังจากพบว่าความต้องการใช้ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 20-30% จนทำให้โรงงานที่อเมริกาผลิตไม่ทัน จึงต้องเตรียมแผนสร้างโรงงานขึ้น
ซึ่งขณะนี้กำลังเจรจากับพันธมิตรเนเจอร์เวิร์คให้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในไทย ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชียเช่นกัน ด้วยเงินลงทุน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 9,000 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดมาเลเซียกำลังจะเสนอตัวดึง เนเจอร์เวิร์คเข้าไปตั้งโรงงานผลิตที่มาเลเซียด้วย แต่มั่นใจว่าพันธมิตรจะสนใจลงทุนกับไทยมากกว่า และคาดว่าจะเร่งให้แล้วเสร็จภายใจ 3 ปี เมื่อเปิดเดินเครื่องจะมีรายได้ปีละ 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากราคาขายตันละ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ และจะทำให้ไทยขึ้นแท่นเป็นแหล่งผลิตไบโอพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีวัตถุดิบพลาสติกชีวภาพทดแทนพลาสติกที่ผลิตจากสารตั้งต้นปิโตรเลียมเกือบทุกชนิดได้ อีกทั้งยังมีแผนที่จะผลิตพลาสติกชีวภาพอีกตัว คือเอนเนอร์ยีพลาสติก หรือพลาสติกชนิด กรีน เอบีเอส
ขณะที่ “ไพรินทร์ ชูโชติถาวร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กล่าวว่า ช่วงแรกนี้การดำเนินการต่าง ๆ อาจจะยากลำบาก เพราะนอกจากราคาสูงแล้ว ยังต้องสร้างความรู้ความเข้าใจด้วย เนื่องจากหลายคนยังคิดว่าใช้แล้วจะย่อยสลายคามือเลยหรือไม่ ซึ่งยืนยันว่าไม่ใช่ แต่จะย่อยสลายเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายใน 1 ปี เหมือนเย็บแผลด้วยไหมละลาย ที่จะค่อย ๆ ละลายหายไปเองในช่วงเวลาหนึ่ง พร้อมทั้งมั่นใจว่าการดำเนินนโยบายทางธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างภาระกับสังคม ถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว โดย ปตท. ได้เริ่มที่ แก้วบรรจุกาแฟของร้านอเมซอน
ส่วนราคาพลาสติกที่ย่อยสลายง่ายระยะแรก ๆ จะมีราคาแพง โดยพลาสติกชีวภาพจะมีราคาสูงถึงตันละ 2,000-3,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่างจากราคาพลาสติกทั่วไป ดังนั้นถ้าจะเทียบกัน ก็เหมือนการเปลี่ยนมาใช้ทีวีจอแบน ที่ราคาจะแพงช่วงเปิดตลาดใหม่ ๆ แต่ขณะนี้ราคาถูกลงมาอยู่ที่ 2,000 บาทเศษ ก็ซื้อได้แล้ว ดังนั้นถ้าจะให้พลาสติกชีวภาพมีราคาถูกลง รัฐบาลต้องสนับสนุนในอุตสาหกรรมนี้ให้ชัดเจน รวมถึงทำให้ผู้บริโภคหันมายอมรับให้มากขึ้น เมื่อมีคนบริโภคมากขึ้น ราคาก็จะค่อย ๆ ถูกลง.
ณัฐธินี มณีวรรณ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design Downloaded from Free Blogger Templates Download | free website templates downloads | Vector Graphics | Web Design Resources Download.